วันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2566

การเรียน ครั้งที่ 14

 

ของเล่น

เป็น ตัวอย่าง







การเรียน ครั้งที่ 15

 เกมตารางสัมพันธ์



การเรียน ครั้งที่ 11

 


                                                                กล่องหรรษา

อุปกรณ์

         1. กระดาษ                  6. ฟิวเจอร์บอร์ด

2. สี                            7. แผ่นใส

 3. กล่อง                      8. ไม้ลูกชิ้น

  4. กาว                         9. ตีนตุ๊กแก

   5. กรรไกร                 10. กาวร้อน


              จุดประสงค์

              -  เด็กรู้จักใช้สติปัญญาต่อภาพ

              -  เรียนรู้ศัพท์อังกฤษ ไทย  จากหมวดสัตว์

              -  รู้จักสัตว์ต่างๆ



การเรียนครั้งที่ 4

 เป็นการเรียนแบบ ออนไลน์

ได้ลองทำ โดยเอากระดาษ reuse มาฉีก อย่างไรก็ได้ให้ไม่ขาด




การเรียน ครั้งที่ 7

 

กิจกรรม ประดิษฐ์ ของเล่น จาก หลอด

หลอดตีไก่




การเรียนครั้งที่ 6

 



พับสมุดเล่มเล็ก 

โดยวาดรูปตัวเองก่อนเรียน



จับคู่เลือกประดิษฐ์ของเล่น จากหลอด

"  หลอดตีไก่   "



การเรียน ครั้งที่ 9

 

พับกระดาษ ไปมา ตกแต่งหัวท้ายของกระดาษ ให้เป็นรูปสัตว์ 




การเรียนครั้งที่ 8

 



สอนทำ การต่อภาพ photo stitching


พับกระดาษเป็นช่องๆและตัดกระดาษบางส่วนให้ขาด แต่ไม่ขาดจากกัน
 และพับกระดาษตัดมาเป็นรูปสัตว์สิ่งที่ชอบ มาเป็นสัตว์ที่เคลื่อนที่ได้
 ให้เด็กตื่นเต้นและสนใจในการเรียน




วันพุธที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2566

การเรียน ครั้งที่ 10


" แพนเค้ก"




การเรียนครั้งที่ 12

 

ทำกล่องหรรษา ที่เป็นเกมการศึกษา จากกล่องลัง นำสิ่งของที่ไม่ได้ใช้มาปรับเปลี่ยน มาเป็นของเล่น ให้เด็กได้เล่น เพื่อเสริมพัฒนาการของเด็กทางด้านอารมณ์และจิตใจ จากวัสดุที่ประหยัด ไม่ให้สิ้นเปลือง

ประโยชน์ที่เด็กปฐมวัยจะได้จาก “เกมการศึกษา

  • - ได้ฝึกการตัดสินใจ การใช้ตรรกะ คิดอย่างมีเหตุผล ฝึกการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
  • -  ความสนุกสนานเพลิดเพลินบันเทิงใจ

ได้แก่

1. เขาวงกต 


2.วงล้อ เพื่อให้หมายเลขตรงกับ จำนวนของลูกวงกลม



3.จับคู่ภาพแบบอนุกรม

4.จิ๊กซอว์ รูปสัตว์


5.จิ๊กซอว์ รูปสัตว์



6.จิ๊กซอว์ รูปสัตว์


วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2565

การเรียนครั้งที่ 3

 



จับคู่ สองคน กับ นางสาว วรรษมน ทองสุก เพื่อประดิษฐ์ ของเล่น จาก ไม้ไอติม
ได้ ของเล่นที่ว่า คอปเตอร์ไม้ไอติม
เพื่อมาเป็นสื่อของเล่นเด็ก จากวัสดุอุปกรณ์ที่หามาได้ง่าย  และประหยัด
จะต้องศึกษา อุปกรณ์ ขั้นตอนการทำ นำมาเล่านิทานได้






วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2565

การเรียนครั้งที 2

      


 วิจัย เรื่อง การออกแบบและพัฒนาของเล่นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ศิลปะ 

เรื่องเส้น สี รูปร่าง รูปทรง  สําหรับเด็กออทิสติก ช่วงอายุ 3-5 ปี

        ปริญญานิพนธ์ : สุรนาท สร้อยจู

        วัตถุประสงค์    : - เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ศิลปะ เรื่องเส้น สี รูปร่าง รูปทรง สําหรับเด็กออทิสติก

                                  - เพื่อศึกษาวิเคราะห์พัฒนาผลิตภัณฑ์ของเล่น

                                  - เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ศิลปะ ด้านทัศนธาตุในเรื่อง เส้น สี รูปร่าง รูปทรง 

                                  สําหรับเด็กออทิสติก โดยใช้หลักการและทฤษฎีการเล่น ในประเด็นรูปแบบ

                                  ผลิตภัณฑ์ เทคนิคและวัสดุที่ใช้ในการผลิต

                                  - เพื่อหารูปแบบนําไปผลิตเป็นชิ้นงานต้นแบบของเล่น และนําไปทําการทดลอง

                                  กับกลุ่มเด็กออทิสติกทั้งชายและหญิง ที่มีช่วงอายุ 3-5 ปีจํานวน 10 คน

          ปัญหา ของ เด็กออทิสติก คือ ปัญหาด้านความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง ปัญหาด้าน การเล่น 

  ปัญหาด้านภาษาพูดช้ากว่าปกติ  ส่งผลกระทบต่อการปรับตัวของเด็ก ทําให้เด็กออทิสติกมีปัญหาใน

  การเล่น การเข้ากลุ่มกับเพื่อน และการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น และเนื่องจากภาวะอาการออทิสติก

  ไม่สามารถรักษาให้หายขาด การรักษาจึงใช้วิธีกระตุ้นพัฒนาการ การปรับพฤติกรรม การใช้ดนตรีบําบัด 

   ศิลปะบําบัด เพื่อ ลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์และสร้างพฤติกรรมเหมาะสม

          แนวทางส่งเสริมการเล่นในเด็กออทิสติก

                 -  การสร้างโอกาสในการเล่นที่หลากหลาย ให้เด็กได้มีโอกาสเล่นของเล่นที่หลากหลาย

                 -  ได้โอกาสในการเล่นกับเด็กวัยเดียวกัน และ เพื่อนเล่นที่หลากหลาย

                 -  ควรใช้การสัมผัสและน้ำเสียงที่นุ่มนวลร่วมด้วยโดยให้เด็กเล่นสิ่งของที่

                     เขากําลังสนใจอยู่ในขณะนั้น

                 -  เมื่อเด็กมีการเล่นที่พัฒนาขึ้น ควรให้คําชม หรือรางวัล เพื่อเป็นกําลังใจแก่เด็กที่จะ 

พัฒนาการเล่นที่หลากหลายต่อไป เช่น ยิ้ม พยักหน้า โอบกอด ชมเชย หรือให้ขนม เป็นต้น

                 -  ถ้าเด็กมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการเล่น เช่น การทุบ ทําลาย ขว้างปาของเล่น 

ควรให้เด็กหยุดเล่นทันที แล้ว นําเด็กมานั่งอยู่คนเดียวในมุมสงบ ประมาณ 2 – 3 นาที โดยไม่จําเป็น

ต้องดุว่า หรือตะโกนเสียงดังใส่ เด็ก เมื่อสังเกตเห็นเด็กมีท่าทีสงบลง จึงค่อยให้เด็กเล่นใหม่ 

พร้อมทั้งเล่นให้ดูหรือเล่นด้วย และบอกให้ เด็กรับรู้ว่าควรทําอย่างไรในขณะที่เล่นของเล่นนั้น

                 -   ความปลอดภัยในการเล่นก็เป็นสิ่งสําคัญที่มองข้ามไม่ได้เช่นกัน อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ 

ไม่ควรปล่อยให้เด็กเล่นตามลําพังโดยไม่มีใครดูแล

              ประโยชน์ของศิลปะที่มีผลต่อการเสริมสร้างพัฒนาการสําหรับเด็กพิเศษ

              - เพื่อการเยียวยาจิตใจ ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด ใช้ในกลุ่มเด็กที่มีปัญหาด้านการควบคุม

อารมณ์และพฤติกรรม

              - เสริมสร้างทักษะการเคลื่อนไหว ช่วยในการตอบสนองต่อความต้องการตาม ธรรมชาติที่

จะเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก

               - ช่วยเสริมสร้างทักษะสังคม ช่วยให้เข้าใจอารมณ์ ความคิดของตนเอง และ เข้าใจความรู้สึก

ของผู้อื่นมีการทักษะการสร้างมนุษย์สัมพันธ์


        สรุปผลจากชิ้นงานต้นแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ

                ของเล่นมีรูปแบบการเล่นที่หลากหลาย ของเล่นมีสีสันที่สะดุดตา วัสดุที่ใช้มีความเหมาะสม 

ของเล่นมีความเหมาะสมกับเด็กออทิสติก


            ผลจากการวิเคราะห์ของเล่นที่จําหน่ายในท้องตลาดพบว่ามีแนวโน้ม การเลือกของเล่นที่ 

ส่งเสริมพัฒนาการมากที่สุด รูปแบบที่มีความนิยมมากที่สุด คือ ของเล่นประเภทบล๊อคไม้ และของเล่น

ที่ประกอบหรือผลิตจากวัสดุประเภทผ้า   เด็กออทิสติกมีการจําเป็นรูปภาพแต่มีปัญหาการเชื่องโยงข้อมูล 

ส่วนใหญ่ มีปัญหาด้านการสื่อสาร

สรุปเป็นผลการออกแบบได้ ดังนี้

      1. การใช้มือในการจับ การสัมผัส
  
      2. ส่งเสริมการเล่นซ้ำๆ ซึ่งการทําซ้า บางกิจกรรมเป็นการเสริมสร้างความรู้
  
      3. รับรู้ทางสัมผัส สมดุล สีรูปร่าง รูปทรง การรับรู้ทางกาย การประสานสัมพันธ์ระหว่าง มือและตา
 
      4. ความหลากหลายของรูปทรงและสี เพื่อดึงดูดความสนใจ

      5. มีภาพประกอบรูปสัตว์เพื่อดึงดูดใจ

      6. ส่งเสริมการฝึกการสังเกตและการรับรู้

      7. การออกแบบจะคํานึงถึงหลักความปลอดภัยเป็นหลักการใช้ประโยชน์ของกิจกรรม

        ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนน ทดสอบด้านความรู้ความเข้าใจ การเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง เส้น สีรูป

ร่าง รูปทรง ของเด็กออทิสติก ช่วงอายุ3-5 ปีจํานวน 10 คน ก่อนและ หลังการเล่นของเล่น 

เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ศิลปะ เรื่องเส้น สีรูปร่าง รูปทรง พบว่าคะแนนทดสอบหลังการเล่นของเล่น 

มี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 ทั้งนี้ เกิดจากการเรียนรู้ที่มีองค์ความรู้เกี่ยวกับศิลปะในเรื่องเส้น สี รูปร่าง 

รูปทรง ที่ได้จากการเล่นของเล่น เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ศิลปะ เรื่องเส้น สีรูปร่าง รูปทรง สําหรับ 

เด็กออทิสติก ช่วงอายุ3-5 ปี ส่งเสริมให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ทางด้านการรับรู้และการเรียนรู้จาก

ประสบการณ์ ตรงจากการเล่นและได้อย่างมีประสิทธิภาพ